วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
เวลา 11.30-14.00 น.


กิจกรรมการเรียนการสอน

6.เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ( Children with Behaviord and Emotional Diesorders )
     หมายถึง  เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้ เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตัวเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2 ประเภท
- เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (*ร้ายแรง)
- เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ (*ครูยังสอนได้)
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก 
- เด็กสมาธิสั้น Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders  (ADHD)
- เด็กออทิสติก Autistic หรือ ออทิสซึ่ม Autism 

7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ Children with Learning Disabilites (LD)
     หมายถึง  เด็ก LD มี IQ เท่ากับเด็กปกติทั่วไป เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง เด็กมีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือ พูด การเขียน ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
      ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
- เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
- ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
- ซุ่มซ่าม
- มีปัญหาด้านการเขียน
- รับลูกบอลไม่ได้
- ติดกระดุมไม่ได้
- เอาแต่ใจ

8.เด็กออทิสติก   Autistic (ไม่พูดจา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว)
     หมายถึง หรือ ออทิสซึ่ม Autism เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และ ความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้ เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
     ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกของตนเอง
- ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อน 
- ไม่ยอมพูด
- ต่อต้านหรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรงและไร้เหตุผล

9.เด็กพิการซ้อน  Children with Multiple Handicaps
     หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่า 1 อย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เช่น เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่หูหนวกและตาบอด


กิจกรรม
    -อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครู  ผลิบานผ่านมือครู  ตอน ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ
    -อาจารย์ให้สรุปองค์ความรู้ 

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
เวลา 11.30-14.00 น.


กิจกรรมการเรียนการสอน

4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ(Children with Physical and Health Impairment )
     หมายถึง  เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป มีปัญหาทางระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว  จำแนกได้เป็น 2 ประเภท  คือ
- อาการบกพร่องทางร่างกาย
- ความบกพร่องทางสุขภาพ
         1.อาการบกพร่องทางร่างกาย
1.1. พี.ซี. Cerebral Palsy
1.2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง Muscular Distrophy
1.3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ Orthopedic 
1.4. โปลิโอ Poliomyelitis 
         2.บกพร่องทางสุขภาพ
2.1. โรคลมชัก Epilepsy
       - ลมบ้าหมู Grand Mal
       - การชักในช่วงเวลาสั้นๆ Petit Mal
       - การชักแบบรุนแรง  Grand Mal
       - อาการชักแบบ Partial Complex
       - อาการไม่รู้ตัว  Facal Partial
2.2. โรคระบบทางเดินหายใจ
2.3. โรคเบาหวาน  Diabetes mellitus
2.4. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  Rheumatoid  arthritis
2.5. โรคศีรษะโต  Hydrocephalus
2.6. โรคหัวใจ  Cardiac Conditions
2.7. โรคมะเร็ง  Cancer
2.8. เลือดไหลไม่หยุด  Hemophilia
       ลักษณะอาการของเด็กบกพร่องทางร่างกาย
- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
- ท่าเดินคล้ายกรรไกร
- เดินขากะเผลกหรืออืดอาดเชื่องช้า
- ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
- มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
- หน้าแดงง่ายมีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
- หกล้มบ่อยๆ

5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Childen with Speech and Language Disorders)
     หมายถึง  เด็กที่พูดไม่ชัด  ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้นการใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
1.ความผิดปกติด้านการออกเสียง
2.ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3.ความผิดปกติด้านเสียง
4.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
      - Motor aphasia
      - Wernicke's aphasia
      - Conduction aphasia
      - Nomial aphasia

      - Global aphasia
      - Sensory agrphia   
      - Motor agrphia  
      - Certical alexia
      - Motor  alexia
      - Gerstmann's syndrome
      - Visual  agnosia
      - Auditory  agnosia

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
เวลา 11.30-14.00 น.


กิจกรรมการเรียน การสอน

 เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
        ความหมาย
1.ทางการแพทย์  มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า  "เด็กพิการ" คือเด็กที่มีความบกพร่อง  มีความผิดปกติ สูญเสียสมรรถภาพ  อาจเป็นความผิดปกติความบกพร่องทางร่างกาย
2.ทางการศึกษา  เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง  ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร  กระบวนการที่ใช้  และประเมินผล
         สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง
- เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถเท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางร่างกาย  สติปัญญา  และอารมณ์
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น  ช่วยเหลือ  บำบัด  ฟื้นฟู
- จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะที่มีความต้องการของเด็กแต่ล่ะคน

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 
     - มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา  เรียกโดยทั่วๆไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
     กระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
     - เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
     -เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
     -เด็กบกพร่องทางการเห็น
     -เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
     -เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
     - เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
     -เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้
     -เด็กออทิสติก
     -เด็กพิการซ้ำซ้อน

1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilies)
   หมายถึง  เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ เฉลี่ยเมื่อเทียบกับเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ
- เด็กเรียนช้า
- เด็กปัญญาอ่อน

2.เด็กบกพร่องทางการได้ยิน ( Chidren with Hearing Impired )
   หมายถึง  เด็กที่มีความบกพร่อง  หรือสูญเสียทางการได้ยิน  เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ
- เด็กหูตึง
- เด็กหูหนวก

3.เด็กบกพร่องทางการมองเห็น ( Children with Visval Impirments )

    หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง  มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง 2 ข้าง  สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ  มีสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา (คนปกติ 120 องศา) จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ตาบอด
- ตาบอดไม่สนิท